ชีวิตเรียบง่ายที่ชุมชนริมน้ำจันทบูร มนต์เสน่ห์เมืองเก่า 300 ปี

ชุมชนเก่าแก่ริมแม่น้ำจันทบุรีด้านตะวันตก แต่เดิมรู้จักกันในชื่อว่าบ้านลุ่ม ซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่ยาวนานมากกว่า 100 ปี ของชาวจีนและญวน ที่อพยพมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ปัจจุบันมีการส่งเสริมและพัฒนาริมน้ำจันทบูรให้เป็นแหล่งอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่ยังคงอนุรักษ์และสืบสานเอกลักษณ์ต่าง ๆ ไว้ได้เป็นอย่างดี

ทั้งรูปแบบอาคารบ้านเรือนเก่า ๆ และวิถีชีวิตที่เป็นเสน่ห์เฉพาะจุดที่น่าสนใจภายในชุมชนริมน้ำจันทบูรมีหลายจุดด้วยกัน เช่น บ้านหลวงราชไมตรี บ้านไม้ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 150 ปี ภายในเก็บรวบรวมเรื่องราวประวัติศาสตร์หลวงราชไมตรี ผู้สร้างคุณูปการให้กับชาวจันทบุรีไว้มากมาย โดยยังคงรักษาสถาปัตยกรรมโบราณเอาไว้ ร้านไอศกรีมตราจรวด โรงงานผลิตไอศกรีมด้วยเครื่องจักรแห่งแรกของจังหวัดจันทบุรี บ้านโภคบาล เป็นบ้านไม้ตะเคียนทั้งหลัง ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบผสม แบ่งเป็น 3 เรือน สภาพบ้านปัจจุบันส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในลักษณะเดิมมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงเป็นบางส่วน เป็นต้น

ชุมชนริมน้ำจันทบูร ถนนเก่าที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ วิถีชุมชน ศิลปวัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมเก่าแก่ ยาวนานมากว่า 100 ปี ของจังหวัดจันทบุรี เป็นชุมชนที่เป็นศูนย์กลางการค้าที่ใหญ่ที่สุด มีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด โดยอนุรักษ์ไว้ให้อยู่ในสภาพเดิม เพื่อให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ที่เหมือนได้ย้อนกลับไปในอดีต

ย่านท่าหลวงตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี ในอดีตนั้นถือเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจการค้าที่สำคัญ มีการติดต่อค้าขายกับชาวไทยและชาวต่างชาติ เป็นเมืองท่าสำคัญในการลำเลียง ขนส่งสินค้า บริเวณนี้ยังเป็นย่านการคมนาคม ผู้คนประกอบอาชีพขายของป่า ทำการค้า ทำประมง ทำพลอย ตีเหล็ก ทอเสื่อ ทำอาหารและขนมต่างๆ ชุมชนบ้านเรือนริมน้ำเก่าสมัยรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันมีการส่งเสริมและพัฒนาริมน้ำจันทบูรให้เป็นแหล่งอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่ยังคงอนุรักษ์และสืบสานเอกลักษณ์ต่าง ๆ ไว้ได้เป็นอย่างดี คนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนจีน ทั้งที่มาทำการค้า และเป็นผู้มาบุกเบิกตั้งรกราก ซึ่งมีทั้งจีนฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว จีนแคะ กวางตุ้ง และไหหลำ ในย่านนี้จึงประกอบด้วยคนไทย จีน และญวน มีการนับถือศาสนาพุทธ และคริสต์ ผู้คนในถนนเส้นเศรษฐกิจนี้ จึงมีความหลากหลาย ทั้งพ่อค้า คหบดี และบ้านเรือนผู้คนที่มาตั้งรกราก ทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมแบบผสมผสาน จากตะวันตก ไทย จีน และชาวญวน รวมถึงการสร้างบ้านเรือน และศิลปะทางสถาปัตยกรรม ก็ได้รับการผสมผสานกันอย่างกลมกลืน และผู้คนในชุมชนยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมความเป็นอยู่แบบดั้งเดิมมาจนปัจจุบันนี้

Scroll to Top